สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย

ความเป็นมาของสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย และประโยชน์ของแบดมินตัน

ความเป็นมาของสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย

สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2493โดยมีผู้มีใจรักกีฬาแบดมินตันกลุ่มหนึ่ง อาทิหลวงธรรมนูญวุฒิกร (นายประวัติ ปัตตพงศ์) นายยง อุทิศกุล นายณัติ นิยมวานิช ได้ร่วมก่อตั้งสมาคมฯ ขึ้น พร้อมกับเรียนเชิญพระยาจินดารักษ์ (นายจำลอง สวัสดิชูโต) มาเป็นนายกสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยคนแรก จดทะเบียนเป็นสมาชิกของสหพันธ์แบดมินตัน นานาชาติ ไอบีเอฟ. ในปี พ.ศ. 2494 เป็นสมาชิกอันดับที่ 19 ของโลก และสมาคมฯ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์เมื่อปี พ.ศ. 2498 นายกสมาคมฯ ที่ผ่านมาต่อจากพระยาจินดารักษ์ คือ นายเลื่อน บัวสุวรรณ, นายจุรินทร์ ล่ำซำ, พลตำรวจโทต่อศักดิ์ ยมนาค, พลตำรวจเอกประเสริฐ รุจิวงศ์ท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชย์ (อยู่ในตำแหน่งไม่ครบวาระ), นายชำนาญ ยุวบูรณ์, พลตำรวจพิชัย กุลละวณิชย์, พลตำรวจเอกชุมพล โลหะชาละ, พลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์, นายเพียรศักดิ์ ซอโสตถิกุล, ฯพณฯ กร ทัพพะรังสี, และ ศาสตราจารย์เจริญ วรรธนะสิน สมาคมฯ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณที่ยิ่งใหญ่เมื่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้ทรงมอบถ้วยพระราชทานที่ออกแบบเป็นพิเศษโดยช่างฝีมือเยี่ยมของประเทศแห่งยุคสมัย ให้แก่สมาคมฯ สำหรับผู้ครองตำแหน่งชนะเลิศแบดมินตันชายเดี่ยวและหญิงเดี่ยวแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2497 และถ้วยพระราชทานของทั้งสองพระองค์ ยังเป็นถ้วยรางวัลกีฬาที่สวยงามแม้เวลาจะผ่านมาร่วมครึ่งศตวรรษ สมาคมฯ ในฐานะองค์กรแบดมินตันแห่งชาติ ได้มีการพัฒนาวงการแบดมินตันอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด จนกลายเป็นองค์กรแห่งชาติที่สหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ ไอบีเอฟ.ถือว่าเป็น สมาคมฯ ระดับแนวหน้าที่มีศักยภาพในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันแบดมินตันระดับโลกสำคัญ ๆ ต่างๆ อาทิ การแข่งขันโธมัส-อูเบอร์คัพ รอบชิงชนะเลิศกรังด์ปรีซ์เซอร์โลก และการแข่งขันไทยแลนด์โอเพ่นประจำปี ชิงเงินรางวัลหลายล้านบาทตั้งแต่ปี พ.ศ.2527 จนถึงปัจจุบัน

 

สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย

 

ในปี พ.ศ. 2502 สมาคมฯ เป็นสมาชิกก่อตั้งของ สมาพันธ์แบดมินตันแห่งเอเชีย(Asian Badminton Confederation) และมีบทบาทสำคัญในองกรแห่งนี้มาแต่ต้น ต่อมา ศาสตราจารย์ เจริญวรรธนะสิน ได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกในชาติเอเชียให้ทำหน้าที่เป็นเลขาธิการของสมาพันธ์ฯ ระหว่างปี ค.ศ. 1987-1990 และรองประธานสมาพันธ์ในปี ค.ศ. 1990-1992 ซึ่งช่วงนี้ได้มีการใช้การตลาดเข้ามาสู่กีฬาแบดมินตันแห่งเอเชีย จนสามารถมีความเป็นปึกแผ่นด้านการเงิน และต่อมา ฯพณฯกร ทัพพะรังสี ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานสมาพันธ์ฯ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1997-2000 และประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันแชมป์เปี้ยนแบดมินตันแห่งเอเชียหลายครั้ง มาตรฐานการเล่นแบดมินตันของประเทศไทย สหพันธ์แบดมินตันนานาชาติจัดให้อยู่ในระดับแนวหน้าของโลก (จาก Statute Bookของสหพันธ์ฯ) เคยเข้ารอบชิงชนะเลิศประเภททีมชายของโลก 2 ครั้ง ในประเภทรายบุคคล นักแบดมินตันไทยหลายรุ่นยังครองตำแหน่งแชม เปี้ยน ประเภทบุคคลในประเทศต่าง ๆ นับตั้งแต่การแข่งขันแบดมินตันออล-อิงแลนด์ ซึ่งถือว่าเป็นการแข่งขันชิงแชมเปี้ยนโลกอย่างไม่เป็นทางการ นักแบดมินตันไทยก็เคยเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศทั้งประเภทชายเดี่ยวและประเภทชายคู่ และเคยครองแชมเปี้ยนทั้งชายเดี่ยว หญิงเดี่ยว และชายคู่ในการแข่งขันแบดมินตันระหว่างชาติ และแชมป์เปี้ยนของชาติต่าง ๆ ทั่วโลกในหลายประเทศรวมทั้งมหกรรมกีฬาเอเชียนเกมส์ ซีเกมส์ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา นักแลดมินตันไทยได้ครองเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดงแต่ล่ะยุคสมัย ในปี ค.ศ. 2000 ศาสตราจารย์เจริญ วรรธนะสิน ได้รับการยกย่องเข้าสู่ทำเนียบเกียรติคุณ Hall of Fame ของสหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ ไอบีเอฟ และในปี ค.ศ. 2001 ฯพณฯ กรทัพพะรังสี ได้รับเลือกตั้งจากสมาชิกสหพันธ์ 141 ชาติให้เป็นประธานสหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ ไอบีเอฟ นับเป็นเกียรติสูงสุดของวงการแบดมินตันไทยที่ได้รับจากนานาประเทศทั่วโลก

ในปี พ.ศ.2546-2547 ศาสตราจารย์เจริญ วรรธนะสิน นายกสมาคมฯ ได้ริเริ่มนำเอา Software การจับฉลากแบ่งสายด้วยระบบคอมพิวเตอร์จากยุโรปมาใช้เป็นแห่งแรก ในประเทศไทย โดยมีนายสุรศักดิ์ ส่งวรกุลพันธ์ กรรมการอำนวยการสมาคมฯ ผู้ชำนาญการคอมพิวเตอร์ ได้ประสานงานพัฒนาจนทำให้ซอฟท์แวร์ใช้เป็นภาษาไทยได้ ทำการจับฉลากแบ่งสายนอกจากจะเที่ยงตรง ยุติธรรม และโปร่งใสแล้ว การจับฉลากแบ่งสายการแข่งขันที่มีนักกีฬามากกว่าหนึ่งพันแมทช์ สามารถกระทำได้ภายในเวลาเพียงครึ่งชั่วโมง

 

สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย

 

ลักษณะของการเล่นกีฬาแบดมินตัน กีฬาที่เดิมพันด้วยศักดิ์ศรี

แบดมินตันมีการเล่นกันอยู่ 5 ประเภท ดังนี้

  • ประเภทชายเดี่ยว กำหนดการเล่นไว้เกมละ 21 คะแนน
  • ประเภทหญิงเดี่ยว กำหนดการเล่นไว้เกมละ 21 คะแนน
  • ประเภทชายคู่ กำหนดการเล่นไว้เกมละ 21 คะแนน
  • ประเภทหญิงคู่ กำหนดการเล่นไว้เกมละ 21 คะแนน
  • ประเภทคู่ผสม (ชาย – หญิง) กำหนดการเล่นไว้เกมละ 21 คะแนน
  • ประเภทเดี่ยวจะมีผู้เล่นข้างละ 1 คน และประเภทคู่จะมีผู้เล่นข้าง 2 คน

เกร็ดอื่น ๆ สำหรับกีฬาแบดมินตันประเภท 3 คน มีเพียงประเทศไทยแห่งเดียวในโลกที่เคยมีเกมการแข่งขัน และนิยมเล่นในประเภทนี้

ประโยชน์ของกีฬาแบดมินตัน

แบดมินตันก็เช่นเดียวกับกีฬาชนิดอื่นๆที่มีประโยชน์มากสำหรับผู้เล่น ซึ่งสามารถสรุปได้เป็นข้อๆ ดังนี้

  • ทำให้มีพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ
  • ทำให้มีสายตาและการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วว่องไว
  • ทำให้เป็นผู้ที่มีการคาดการณ์ล่วงหน้าได้
  • ทำให้เป็นผู้ที่สามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วทันเวลา
  • ทำให้รู้จักแบ่งหน้าที่และรักษาหน้าที่ มีการร่วมมือกับผู้อื่นได้ดี
  • สามารถเข้ากับคนอื่นได้ และมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
  • ทำให้เป็นผู้ที่มีน้ำใจเป็นนักกีฬารู้แพ้รู้ชนะและรู้จักให้อภัย
  • ทำให้เป็นผู้ที่รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

มารยาทในการเล่นและการแข่งขันกีฬาแบดมินตัน

กีฬาแบดมินตันเป็นกีฬาที่มีผู้นิยมเล่นกันมากชนิดหนึ่ง เมื่อมีการแข่งขันเดิมพันfun88จะมีผู้ชมเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นผู้เล่นควรจะแสดงกิริยาท่าทางที่สุภาพ ไม่แสดงออกในท่าที่ไม่ดี ควรมีน้ำใจนักกีฬา รู้จักแพ้ รู้จักชนะไม่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย รวมทั้งผู้ชมกีฬาแบดมินตันก็ต้องมีมารยาทเช่นกันไม่ควรทำอะไรที่เป็นการรบกวนสมาธิของนักกีฬาขณะทำการแข่งขัน สำหรับการเล่นและการแข่งขันกีฬาแบดมินตันมีมารยาทและสิ่งที่จะต้องประพฤติปฏิบัติอยู่หลายประการ

 

ผู้ชม

  • แต่งกายให้สุภาพ เรียบร้อย เป็นการให้เกียรติแก่การแข่งขันนั้นๆ
  • ให้เกียรติแก่นักกีฬาทั้ง 2 ฝ่าย ด้วยการปรบมือเมื่อมีการแนะนำคู่แข่งขัน
  • ไม่กล่าววาจาที่ไม่สุภาพ และไม่เชียร์ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจนไม่น่าดู
  • ขณะการแข่งขันยังดำเนินอยู่ไม่ควรรบกวนสมาธิของผู้แข่งขันหรือ ผู้ชมด้วยกัน เช่น การลุกเดินไปมาหรือตะโกนบอกลูกดีหรือลูกออก รวมทั้งการสอนผู้เล่นด้วย
  • การนิ่งเงียบ ในขณะที่นักกีฬากำลังเล่นถือเป็นมารยาทที่ดีของผู้ชม
  • ควรปรบมือเมื่อผู้เล่นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเล่นได้ดี สวยงาม และกระทำเมื่อลูกไม่ได้อยู่ในการเล่น

ไม่แสดงออกด้วยกิริยาหรือวิพากษ์วิจารณ์การตัดสินของกรรมการขณะทำการแข่งขัน แม้ว่าจะมีข้อผิดพลาดอย่างไร ก็ควรให้อภัยและยอมรับ

เมื่อการแข่งขันสิ้นสุดลง ควรปรบมือเป็นเกียรติแก่คู่แข่งขันทั้ง 2 ฝ่าย