การศึกษาและข้อแตกต่างการเรียนรู้ต่างประเทศและในประเทศ แบบไหนดีกว่ากัน

การศึกษาต่างประเทศ  เรามีข้อมูลมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศอังกฤษที่มีชื่อเสียงโดยแต่ละมหาลัยจะมีจุดเด่นและสิ่งที่น่าสนใจที่แตกต่างกันไป อันดับแรกเลยเราควรจะตั้งเงื่อนไขที่เราต้องการก่อน เพื่อทำการเปรียบเทียบว่าเราต้องการ ชีวิตแบบไหนก่อนตัดสินใจสมัครไปเรียน เพราะความต้องการแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน บางคนอาจจะชอบสถานที่ตั้งใกล้แหล่งท่องเที่ยวต่างๆใกล้ย่านห้างสรรพสินค้าตั้งอยุ่ใจกลางเมือง การคมนาคมสะดวก ก็อาจจะเหมาะกับน้องๆที่ต้องการสนุกกับการใช้ชีวิต และต้องการความสะดวกในการเดินทาง หรือ ถ้าน้องๆบางคนต้องการความสงบ ก็อาจจะเลือกมหาลัยที่อยุ่นอกตัวเมือง ที่ไม่จอเเจวุ่นวาย มีความสงบ ใกล้ชิดธรรมชาติอากาศดีรถไม่ติดแต่อาจจะต้องใช้เวลาในการเดินทางเข้ามาในตัวเมืองซักหน่อย ซึ่งแต่ละที่ค่าครองชีพก็แตกต่างกัน แน่นอนว่าใจกลางเมืองค่าครองชีพย่อมสูงกว่านอกเมือง สิ่งนี้ก็จะเป็นสิ่งสำคัญอีกเรื่องนึงที่จะต้องใช้ในการ คัดเลือกมหาลัยที่เหมาะสม ก่อนจะตัดสินใจ

การศึกษาในประเทศไทย เป็นการศึกษาที่จัดโดยกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทย โดยภาครัฐจะเข้ามาดูแลโดยตรงและเปิดโอกาสให้เอกชนมีส่วนร่วมในการศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษาปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษา สำหรับการศึกษาภาค

บังคับในประเทศไทยนั้นได้กำหนดให้พลเมืองไทยต้องจบการศึกษาอย่างน้อยที่สุดในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และต้องเข้ารับการศึกษาอย่างช้าสุดเมื่ออายุ 7 ปี ซึ่งการศึกษาภาคบังคับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งแบ่งออกเป็น

ระดับชั้นประถมศึกษา 6 ปีและมัธยมศึกษา 6 ปี นอกจากนี้แล้วการศึกษาขั้นพื้นฐานยังรวมถึงการศึกษาปฐมวัยอีกด้วย ทั้งนี้รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ส่วนการบริหารและการควบคุมการศึกษาในระดับอุดมศึกษาจะดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

ซึ่งเป็นแผนกหนึ่งของกระทรวงศึกษาธิการ ในปัจจุบันการศึกษาในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

อย่างไรก็ตามการจัดการศึกษาของประเทศไทยนั้นถูกมองว่าล้าหลังและล้มเหลวเสมอมา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 ว่า เด็กไทยมีระดับเชาวน์ปัญญา 98.59 ซึ่งต่ำกว่าค่ามัธยฐานของเชาวน์ปัญญาทั้งโลกที่ระดับ 100 โดยเด็กไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสติปัญญาน้อยที่สุด สูงขึ้นมาจึงเป็นภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคกลางตามลำดั

ข้อแตกต่าง

การศึกษาไทยได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ถึงปัญหาและความล้มเหลวที่เกิดขึ้น จากการจัดอันดับตามรายงานของ World Economic Forum ในปี พ.ศ. 2555 – 2556 ระบุว่าประเทศไทยมีอันดับคุณภาพทางการศึกษาลำดับสุดท้ายในกลุ่มประเทศอาเซียนที่ได้รับการจัดอันดับ โดยคนไทยกว่าร้อยละ 87 เชื่อว่าการศึกษาไทยอยู่อันดับสุดท้ายในกลุ่มประเทศอาเซียนจริง ซึ่งมูลเหตุที่สำคัญมาจากปัญหาที่สะสมมานานหลายประการอันเกิดมาจากระบบการเรียนการสอน หลักสูตร ครูผู้สอน โอกาสการเข้าถึงการศึกษา รวมไปถึงคุณภาพของนักเรียนไทย

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้งบประมาณทางการศึกษาสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่การบริหารจัดการยังไม่ดีมากนักโดยพบว่างบประมาณส่วนใหญ่ทุ่มเทไปที่การศึกษาขั้นพื้นฐานโดยมีการใช้งบประมาณแบบตำน้ำพริกละลายในแม่น้ำเป็นส่วนมาก(นำไปใช้ไม่ตรงจุดสำคัญที่ควรได้รับการพัฒนา หรือนำไปจัดการแต่ละ

เรื่องมากเกินกว่าผลผลิตคุณภาพที่ได้ไม่คุ้มค่า และถ้าหากได้รับงบน้อยก็จะส่งผลต่อนักเรียนที่ได้รับโอกาสไม่เท่ากันมากขึ้น) อีกทั้งเป็นไปในสัดส่วนที่มากกว่าอาชีวศึกษาค่อนข้างมาก ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนในระดับอาชีวศึกษายังไม่มีประสิทธิภาพสูงมากนักและไม่สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทยในปัจจุบันยุคสังคมเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมต่างๆมากขึ้น นอกจากนี้แม้จะจัดสรรงบประมาณให้กับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นจำนวนมาก แต่ยังพบปัญหาโอกาสการศึกษาที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างผู้มีฐานะและผู้ไม่มีฐานะ ยิ่งมองให้ลึกไปถึงผู้บริหารระดับสูงไม่มีความรู้ด้านวิชาการอย่างลึกซึ้งจึงพึ่งพิงบุคลากรระดับการจัดการงบประมาณหรือนักจัดการเงิน/จัดจ้างเป็นสำคัญ (ผู้ใช้

งบประมาณไม่เข้าใจเชิงวิชาการการจัดการศึกษาเชิงรุกอย่างลึกซึ้ง นักวิชาการไม่มีโอกาสลงลึกถึงงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษา) และหรือผู้ที่เข้าใจระบบการจัดการการศึกษาอย่างมีคุณภาพ(นักวิชาการทุกระดับความคิด ปัจจุบันยังใช้ความคิดของนักการศึกษาในยุคเก่าและหรือดำเนินการพัฒนาคุณภาพแบบโยนหินถามทาง และไม่กล้าสู้ปัญหาแบบกล้าคิดกล้าทำที่สมควรบุกเบิกการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างจริงจัง) ผู้รู้หรือนักวิชาการอิสระที่มีความคิดเห็นแบบตรงไปตรงมาไม่มีโอกาสเข้าร่วมให้ข้อคิดหรือข้อเสนอแนะแบบประชาพิจารณ์ร่วม รวมไปถึงปัญหาอันเกี่ยวเนื่องกับหลักสูตรและการสอนใน

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยหลักสูตรของไทยไม่เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพที่ตรงตามความสามารถของผู้เรียน เมื่อรวมเข้ากับค่านิยมของสังคมทำให้การจัดหลักสูตรของไทยไม่ประสบความสำเร็จในปัจจุบันแต่อย่างไร ในยุคสมัยนี้ ผู้คนนิยม ให้บุตรเรียนต่อต่างประเทสกันทั้งนั้นแหละ เพราะ ระบบการศึกษาไทย ไม่ใช่ไม่ดี แต่ บุคคลที่เรียนจบแต่ไม่มีงานทำเป็นร้อยละที่สูงมากถ้าเปรียบเทียบจากบุคคลที่จบจากต่างประเทศ

สรุปจากความคิดเห็นของตัวเอง

การเรียนการสอนต่างประเทศนั้น มีหลักสูตรชั่งต่างจากประเทศไทยอย่างมาก วันนึงเรียน 3-4 ชั่วโมง ที่ เหลือเป็นงานอดิเรกโดยการทำงาน Prat time หารายได้ไปในตัว หรือ กิจรรมให้ นักศึกษาได้ทำ แต่ทางเรากับกันเลย เรียนวัน 7-8 ชั่วโมง ตั้งหน้าตั้งตาเรียนอย่างอย่างเดียว ไม่รู้จักการเข้าสังคม ซึ่งแตกต่างจากต่างประเทศ เข้ามีเวลาว่างมาก ทำ Part time จึงให้เขาเป็นบุคคลที่ดีพร้อม เรียนไปด้วยทำไงได้ จึงทำให้กระบวนการนั้นเป็นธรรมชาติ คนต่างชาติมีระบบทางสังคมที่แน่นตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษา(ไม่เชื่อก็ลองมอง ประเทศเราดู) อายุ 17 – 18 นี่ยังแบบมือขอเงินพ่อแม่กันอยู่เลย

กว่าจะตั้งตัวหรือรู้ตัวช้าไป ก็ 25 ปี ช่วงนี้ คนไทยจะเริ่มคิดได้ หรือไม่ได้ เปรียบเทียบง่าย คนที่ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย ตั้งแต่อายุ 18 – 25 ได้เงินเดือนปีละ 1 แสน (สมมุติ) ก็จะตกประมาณ 7-8แสน ที่เป็นเงินเก็บ แต่ในทางกับกัยของคนไทย ถ้าอีก 8 ปีเขาก็ทำได้เช่นกัน 7-8 แสน ไม่เห็นยากเลย แต่นี่ละคือข้อเสียคือ อายุในการประกอบอาชีพเกือบ 35 เข้าไปแล้ว โดยที่คนต่างชาติยัง อายุเพียงแค่ 25 เป็นหนุ่มสาวไปแรง มีเงินเก็บ มีความรู้ (ลองคิดดูละกันครับแบบไหนดีกว่ากัน) และเรียนจบไปแล้ว ไม่มีการรับรองว่าจะต้องได้ทำงานตรงสาย ต้องได้งานแน่นอน (ไม่มีความแน่นอน) คุณเชื่อหรือไ่ว่า ถ้าเรา

ตั้งใจทำอะไรแบบจริงจังซัก 3-4 ชั่วโมง ผมว่าก็เพียงพอต่อการเรียนรู้แล้ว และนำเวลาที่เหลือมา ทำประโบชน์อย่างอื่นได้อีกมากมาย มิใช่ การเรียนการสอนแบบไทย เรียนท่องจำไปทั้งวัน จำได้ทำไม่ได้ ก็แค่นั้นครับ จำได้ทำได้ ก็น้อยมากที่มีคนประเภทนี้ แต่หลักสูตรการสอนของต่างประเทศนั้น ไม่ใช่การท่องจำซะทีเดียว เป็นระบบการสอนให้ทุกคนเข้าใจได้เอง คือแบบว่า การที่เราเข้าใจได้เอง และอธิบายได้หลายมุมมอง กับการท่องจำคุณว่าแบบไหนดีกว่ากัน สมองคนเรานั้นไม่สามารถเรื่องราวการเรียนการสอนได้ทั้งหมดหลอก