5 โรคที่เป็นเรื้อรังในผูสูงอายุ

 

คนเราทุกคนล้วนอยากมีสุขภาพที่แข็งแรง เพราะการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่สร้างความทุกข์ให้กับตัวผู้ป่วยเองเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อบุคคลรอบข้างผู้ใกล้ชิดหรือข้างผู้ใกล้ชิดอีกด้วย โรคภัยไข้เจ็บย่อมมาพร้อมกับอายุที่มากขึ้นด้วย หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องดูแลผู้สูงอายุหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย อาจหลีกเลี่ยงความเครียดได้ยาก โดยเฉพาะในผู้ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังหรือโรคที่มีอาการรุนแรง ผมจะเสนอแนะเคล็ดลับง่าย ๆ 3 ประการ ในการสร้างกำลังใจต่อตนเอง ให้สามารถปรับตัวรับความเครียดที่เกิดขึ้นได้ เพื่อดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยได้ดียิ่งขึ้นนะครับ

1. กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Diseases : CVD) ร้อยละ 72

ของผู้สูงอายุ ได้แก่

1.1. โรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic Heart Disease: IHD)

อาการและสัญญาณเตือนของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน คือ จุกแน่นหน้าอก มีเหงื่อออก ใจสั่น ปวดร้าวไปกราม สะบักหลัง แขนซ้าย จุกคอหอย จุกใต้ลิ้นปี่ คล้ายโรคกระเพาะ หรือกรดไหลย้อน ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวให้รีบพบแพทย์โดยเร็วซึ่งจะต้องได้รับยาละลายลิ่มเลือดภายในเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมงหลังมีอาการ หรือขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดค้ำยันภายในเวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมง หลังจากมีอาการ จะให้ผลการรักษาที่ดีมาก นอกจากนี้ ควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีและควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น อาหารไขมันสูง ความเครียด ออกกำลังกาย เพื่อป้องกันโรคหัวใจที่อาจเป็นภัยเงียบทำให้เสียชีวิตได้

 

1.2 โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)

อาการความดันโลหิตสูง

ในรายที่เป็นความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ (พบได้เป็นส่วนใหญ่) ส่วนใหญ่จะมีไม่อาการแสดงแต่อย่างใด และมักตรวจพบได้โดยบังเอิญจากการตรวจคัดกรองโรคหรือเมื่อมาพบแพทย์ด้วยปัญหาอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง

มีส่วนน้อยที่อาจมีอาการปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ เวียนศีรษะ ซึ่งมักจะเป็นตอนตื่นนอนใหม่ ๆ พอตอนสายอาการจะทุเลาไปเอง บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะตุบ ๆ แบบไมเกรน ส่วนในรายที่เป็นมานาน ๆ หรือมีความดันโลหิตสูงมาก ๆ อาจจะมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ ตามัว มือเท้าชา หรือมีเลือดกำเดาไหล หากปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ โดยไม่ได้รับการรักษา อาจแสดงอาการของภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น หอบเหนื่อบ เจ็บหน้าอก บวม แขนขาเป็นอัมพาต เป็นต้น

1.3. โรคคอเลสเตอรอลในเลือดสูง (Hypercholesterolemia)

ข้อควรปฏิบัติ เมื่อไขมันในเลือดสูง

1.ควบคุมอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไขมันสัตว์ สมองสัตว์ เครื่องในสัตว์ ไข่แดง อาหารทะเล หอยนางรม ปลาหมึก กุ้ง หนังเป็ด หนังไก่ มะพร้าว อาหารที่มีกะทิ หากมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูงด้วย ควรระวังอาหารพวกแป้ง น้ำตาล เครื่องดื่มที่มีรสหวาน ผลไม้รสหวานจัด

2.รับประทานอาหารประเภทเนื้อปลา เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน นมพร่องมันเนย

3.หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา เบียร์ เพราะแอลกอฮอล์ เพราะมีฤทธิ์สะสมไขมันตามเนื้อเยื่อ

4.หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมัน อาหารทอด เจียว ควรใช้น้ำมันจากพืชแทนน้ำมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน ซึ่งมีกรดไลโนเลอิกเป็นตัวนำ โคเลสเตอรอลไปเผาผลาญซึ่งจะช่วยในการดูดซึมไขมันสู่ร่างกายน้อยลง

5.ควรเพิ่มอาหารประเภทผักใบต่าง ๆ และผลไม้บางชนิดที่ให้ใยและกาก เช่น คะน้า ฝรั่ง ส้ม เม็ดแมงลัก เพื่อให้ร่างกายได้รับกากใยมากขึ้น เพื่อช่วยในการดูดซึมของไขมันสู่ร่างกายน้อยลง

6.การออกกำลังกาย จะช่วยลดปริมาณไขมันในเลือดและเพิ่มระดับของ HDL ควรทำอย่างต่อเนื่อง สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 20-30 นาที การออกกำลังกายที่ดี เช่น การเดินเร็ว จ๊อกกิ้ง เต้นรำ ขี่จักรยาน

7.งดสูบบุหรี่ เพราะจะทำให้ HDL ในเลือดต่ำลง เพราะบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด

8.ปรึกษาแพทย์ ติดตามผล การปฏิบัติตัว บางระยะอาจต้องใช้ยาช่วยปรับระดับไขมันในเลือดสูง ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้แนะนำและติดตามผลการรักษาต่อไป

 

1.4. โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia)

อาการของหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับประเภท ความรุนแรง หรือความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ บางรายอาจไม่พบอาการหรือความผิดปกติใด ๆ แต่บางรายอาจมีอาการที่สังเกตได้ เช่น

1.ใจสั่น

2.หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ (มากกว่า 100 ครั้งต่อนาที)

3.หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (น้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที)

4.เจ็บหน้าอก

5.หายใจหอบ

6.วิงเวียนศีรษะ

7.เหงื่อออกมาก

8.หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม หมดสติ

ผู้ที่มีอาการข้างต้นอาจไม่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจเต้นผิดปกติเสมอไป แต่หากมีอาการเกิดขึ้นอย่างกะทันหันหรือเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อวินิจฉัยและหาสาเหตุของอาการต่อไป

 

 

2. กลุ่มโรคทางระบบประสาทและจิตเวช (Central Nervous System and Psychiatry) ร้อยละ 37 ของผู้สูงอายุ ได้แก่

2.1. โรคเครียดและโรคซึมเศร้า (An-xiety and Depression)

 

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีที่อยู่ในสมองที่มีชื่อว่า เซโรโทนิน (Serotonin) เมื่อสารเคมีดังกล่าวมีปริมาณน้อยลงจากเดิมก็ทำให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจและทางความคิด ซึ่งโดยรวมจะสังเกตเห็นได้ว่าผู้ป่วยจะมีความรู้สึกท้อแท้ เบื่อหน่าย เหงา ไม่มีชีวิตชีวา ไม่สนุกสนานกับชีวิตประจำวัน นอนไม่หลับ มักสะดุ้งตื่นในกลางดึก ฝันร้ายบ่อย เหล่านี้ยังเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำงานที่ลดลง

สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการซึมเศร้านั้นมาจากหลากหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นในด้านของกรรมพันธุ์ ด้านพัฒนาการของจิตใจ รวมทั้งด้านสิ่งแวดล้อมที่ต้องเผชิญ ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยประสบกับความเครียดที่แสนหนัก เจอมรสุมชีวิตที่ไม่ทันได้ตั้งตัว เกิดอาการเจ็บป่วยเรื้อรังจนทำให้หมดกำลังใจ ตกงาน มีปัญหาเรื่องการเงินที่หาทางออกไม่ได้ มีปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด รวมทั้งพบเจอกับความสูญเสียในชีวิตที่ทำให้เสียใจเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียพ่อแม่ในขณะที่ยังอยู่ในช่วงของวัยเด็ก สูญเสียคนรัก สูญเสียครอบครัว และยังรวมถึงปัจจัยทางชีวภาพ เช่น เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับสารเคมีในสมองบางชนิด ก็สามารถส่งผลทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้เช่นเดียวกัน

 

 

2.2 โรคสมองเสื่อม (Dementia)

 

อาการสมองเสื่อม

อาการสมองเสื่อมจะแตกต่างกันไป โดยขึ้นอยู่กับสาเหตุและบริเวณที่ได้รับผลกระทบ อาการที่พบได้บ่อยแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวกับกระบวนการคิดหรือกระบวนการรับรู้

*เสียความทรงจำ มักจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นในช่วงแรกและเป็นอาการที่สังเกตได้ชัดที่สุด ซึ่งจะมีปัญหาในการจดจำเหตุการณ์ ผู้คน หรือสถานที่

*มีปัญหาในการให้เหตุผล หรือการแก้ไขปัญหา

*มีปัญหาในการสื่อสาร การใช้คำและภาษา เช่น ไม่สามารถเลือกใช้คำที่เหมาะสมในการพูดคุยสื่อสารได้

*มีปัญหาในการวางแผนและจัดการการงานต่าง ๆ เช่น ไม่สามารถจัดลำดับขั้นตอนในการทำงาน

*มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวประสานงานกันของกล้ามเนื้อ ทำให้ไม่สามารถทำงานที่ละเอียดหรือประณีตได้

*มีความสับสน มึนงง เลอะเลือน

 

การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับทางด้านจิตใจ

*มีการเปลี่ยนแปลงของบุคลิกภาพ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

*มีอาการซึมเศร้า

*เกิดความวิตกกังวล

*มีความหวาดระแวง

*ภาวะกายและใจไม่สงบ กระสับกระส่าย

*มีอาการประสาทหลอน

สมองเสื่อมบางประเภททำให้เกิดอาการจำเพาะ เช่น ผู้ป่วยสมองเสื่อมที่มาพร้อมอาการทางประสาท (Dementia with Lewy Bodies) มักจะเกิดอาการเห็นภาพหลอนชัดเจน หรือสมองเสื่อมชนิด Frontotemporal Dementia: FTD อาการแรกเริ่มของผู้ป่วยจะมีการเปลี่ยนแปลงของบุคลิกหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม โดยผู้ป่วยที่ประสบกับภาวะนี้อาจไม่สามารถแสดงความรู้สึกให้ผู้อื่นรับรู้ได้ หรืออาจชอบพูดจาหยาบคาย เปิดเผยตัวเอง หรือให้ความเห็นเรื่องทางเพศอย่างโจ่งแจ้ง

หากพบว่าคนใกล้ตัวมีปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำหรืออาการดังกล่าวข้างต้น ควรไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาและวินิจฉัยโรคต่อไป

 

2.3 โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก (Cerebrovascular Accident: CVA)

อาการของโรคหลอดเลือดสมอง

เมื่อสมองขาดเลือดจะทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งอาการแสดงต่างๆ จะมากหรือน้อยขึ้นกับระดับความรุนแรงและตำแหน่งของสมองที่ถูกทำลาย เช่น
  • ชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้าและ/หรือบริเวณแขนขาครึ่งซีกของร่างกาย
  • พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนลำบาก
  • ปวดศีรษะ เวียนศีรษะทันทีทันใด
  • ตามัว มองเห็นภาพซ้อนหรือเห็นครึ่งซีก หรือตาบอดข้างเดียวทันทีทันใด  
  • เดินเซ ทรงตัวลำบาก

2.4 โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Di-sease)

อาการที่พึงสังเกต

ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมีอาการที่พบได้บ่อย ๆ ได้แก่ การเคลื่อนไหวช้า อาการสั่นของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในท่าพักแต่ดีขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว และอาการเกร็ง ซึ่งสัมพันธ์กับเซลล์สมองที่ถูกทำลายไปแล้วอย่างน้อยร้อยละ 60 ความผิดปกติที่เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวเนื่องจากโรคพาร์กินสันเป็นผลจากการตายของเซลล์สมองส่วนก้านสมองส่วนกลาง (Midbrain) ในส่วนสับสแตนเชียไนกราซึ่งมีผลทำให้สารสื่อประสาทโดพามีนซึ่งควบคุมการเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องของร่างกายลดลง

การตายของเซลล์สมองในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันได้มีการดำเนินมาแล้วอย่างน้อย 4-10 ปี ก่อนที่ผู้ป่วยจะเริ่มมีความผิดปกติทางการเคลื่อนไหว ได้แก่ การเสื่อมของระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการดมกลิ่นและก้านสมองส่วนเมดัลลาและพอนส์ที่ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติของลำไส้ การนอนและอารมณ์จิตใจ ดังนั้นผู้ป่วยโรคพาร์กินสันอาจมีการได้กลิ่นลดลง ท้องผูก ความผิดปกติทางด้านอารมณ์ เช่น ย้ำคิดย้ำทำอาการซึมเศร้า วิตกกังวล หรือร้องตะโกนขยับแขนขาอย่างรุนแรงในขณะหลับร่วมด้วย อาการต่าง ๆ เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในการคัดกรองผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

ในระยะเริ่มแรกผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มาพบแพทย์อาจสังเกตว่ามีการเคลื่อนไหวช้าลง เดินลากขา ไม่แกว่งแขน ตัวแข็งเกร็ง พูดเสียงเบาและช้าลง เขียนหนังสือตัวเล็กลงกว่าเดิม เป็นต้น การวินิจฉัยผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันยังต้องอาศัยการซักถามประวัติและการตรวจร่างกายเป็นหลัก การตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือการถ่ายภาพเอกซเรย์สมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นเพียงการแยกโรคอื่น ๆ ที่มีอาการแสดงคล้ายโรคพาร์กินสันออกไป ในปัจจุบันมีการตรวจการทำงานของสมองที่เรียกว่า Functional MRI เช่น F-Dopa Pet Scan ซึ่งสามารถตรวจวัดความผิดปกติของสารโดพามีนในสมองของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันได้แต่เนื่องจากราคาที่แพงมาก และการตรวจโดยผู้เชี่ยวชาญโรคพาร์กินสันก็สามารถให้การวินิจฉัยที่ถูกต้องได้มากกว่าร้อยละ 90 อยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจ Functional MRI ในผู้ป่วยทุกรายยกเว้นกรณีที่อาการไม่ชัดเจน

รู้เร็ว กับ การดูแลที่ดีกว่า

จากหลักฐานงานวิจัยหลายชิ้นจากต่างประเทศยืนยันว่าการดูแลผู้ป่วยโรคพาร์กินสันตั้งแต่เริ่มต้นทั้งในแง่การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติและอาการอื่น ๆ ที่ร่วมด้วยดังที่กล่าวแล้วข้างต้น ด้วยการปรับยา การแนะนำเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย และการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม สามารถทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจดีกว่าผู้ที่ไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง การนำผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน หรือบุคคลที่น่าสงสัยว่าจะเป็นโรคพาร์กินสันมาปรึกษาแพทย์แต่เนิ่น ๆ เป็นสิ่งที่แนะนำอย่างยิ่ง เนื่องจากในปัจจุบันนี้มีวิธีการรักษาที่ทันสมัยและหลากหลายทั้งการรักษาด้วยยาหรือการผ่าตัดเมื่อโรคดำเนินไปสู่ระยะท้าย ซึ่งจะช่วยประคับประคองให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดและยาวนานที่สุด

 

2.5 โรคลมชัก (Epilepsy)

โรคลมชักเกิดจากอะไร?

โรคลมชักเป็นโรคที่เกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งมาจากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากพันธุกรรม ความผิดปกติของระบบไฟฟ้าในสมองที่หากถูกกระตุ้นมากเกินไปจะทำให้เกิดอาการชักได้ ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับว่าสมองส่วนไหนที่ถูกกระตุ้น เช่น สมองส่วนที่ควบคุมแขนขาถูกกระตุ้น ก็จะเกิดอาการเกร็ง กระตุกขึ้นมาที่แขนขา ถ้าเกิดในส่วนของสมองที่ควบคุมเรื่องการรับรู้ก็จะมีอาการเบลอ เหม่อลอย ทำให้อาการของโรคลมชักมีความแตกต่างกันไปในแต่ละคน

นอกจากนี้โรคลมชักยังเกิดได้ตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์แม่ หรือมีการคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากเซลล์สมองยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ เมื่อถูกกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมภายนอกจะมีผลกระทบต่อสมองได้ และยังอาจจะพบได้ในเด็กที่มีปัญหาจากการเจ็บป่วย ติดเชื้อ หรือการถูกกระตุ้นโดยวัคซีนบางชนิดที่ส่งผลต่อสมอง และไม่ทราบสาเหตุ เช่น ในเด็กที่คลอดตามกำหนด มีร่างกายแข็งแรง แต่เมื่ออายุ 1-3 ปี พบว่ามีอาการชัก โดยระบุไม่ได้ว่าเพราะเหตุใดสมองจึงทำงานผิดปกติ ซึ่งโรคลมชักในเด็กจะส่งผลต่อการพัฒนาการของสมองในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านการเคลื่อนไหว การรับรู้ ความจำ พฤติกรรมและอารมณ์ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว สมองก็จะได้รับผลกระทบเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

 

3.กลุ่มโรคกระดูกและกล้ามเนื้อ (Musculo-skeleton Disease)

 

โรคระบบข้อ กระดูก และกล้ามเนื้อ หมายถึง โรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติหรืออาการที่เกิดจากความบกพร่องของระบบข้อ กระดูก และระบบกล้ามเนื้อ โดยส่วนมากจะพบมีอาการเรื้อรังมานานหลายปี และมักพบโรคชนิดนี้ในกลุ่มวัยทำงาน กลุ่มผู้เป็นโรคอ้วนน้ำหนักตัวมาก และกลุ่มผู้สูงอายุรวมไปถึงสาเหตุที่มาจากพันธุกรรม ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้หลายชนิด ได้แก่

โรคในระบบข้อ
1. โรคเกาต์
2. โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบ
3. โรคข้อเสื่อม
4. โรคข้อเข่าเสื่อม
5. โรครูมาตอยด์
6. โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน
7. โรคข้ออักเสบติดเชื้อ

 

 

3.1 โรครูมาตอยด์ (Rheumatoid)

 

โรครูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) หนึ่งใน โรคข้ออักเสบ (Arhritis) ที่พบบ่อย เป็นโรคเรื้อรังที่มีกลไกเกิดจากระบบภูมิคุ้มกัน ต้านทานโรคของร่างกายทำลายอวัยวะของตัวเอง โดยทำให้เกิดพยาธิสภาพในหลายอวัยวะ

คือ ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายถูกกระตุ้นให้ทำงานมากเกินผิดปกติโดยเฉพาะที่ข้อต่าง ๆ เซลล์เม็ดเลือดขาวและเซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue) ถูกกระตุ้นให้ทำงานมากขึ้น และหลั่งสารเคมีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ ซึ่งเป็นการอักเสบแบบเรื้อรังและส่งผลทำให้เนื้อเยื่อปกติถูกทำลายในที่สุด

โดยที่เป็นลักษณะเฉพาะของโรคและเป็นปัญหาทำให้ผู้ป่วยเกิดความพิการตามมา คือ การที่ข้อต่าง ๆ เกิดการอักเสบโดยเฉพาะข้อมือและข้อนิ้วมือ โดยสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด รูมาตอยด์ อาการ บ่งชี้ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่จากการศึกษาพบว่า 10% ของผู้ป่วยเกิดจากพันธุกรรม

โดยทั่วไป เมื่อเริ่มเป็นโรคข้อรูมาตอยด์ อาการมักไม่ค่อยชัดเจน ทำให้วินิจฉัยโรคได้ยาก ซึ่งเวลาโดยเฉลี่ยนับตั้งแต่เริ่มมีอาการของโรคจนกระทั่งวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคข้อรูมาตอยด์อยู่ที่ประมาณ 9 เดือน การวินิจฉัยจะอาศัยอาการและการตรวจจากห้องปฏิบัติการ โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญโรคนี้จากสหรัฐอเมริกา (American College of Rheumatology) ได้วางกฎเกณฑ์สำหรับการวินิจฉัยโรคไว้ดังนี้ โดยให้ถือว่า “ผู้ป่วยที่มีอาการอย่างน้อย 4 ใน 7 ข้อเหล่านี้ เป็น โรคข้อรูมาตอยด์”

  • มีอาการข้อแข็งในตอนเช้า ขยับไม่ได้ตามปกติ ซึ่งต้องมีอาการนานมากกว่า 1 ชั่ว โมงก่อนที่อาการจะหายไป
  • มีอาการปวดข้อมากกว่า 3 ข้อขึ้นไปโดยมีอาการบวมของข้อร่วมด้วย
  • ข้อที่อักเสบนั้นจะต้องมีข้อของมือรวมอยู่ด้วย โดยอาจจะเป็น ข้อมือ ข้อฝ่ามือ หรือข้อนิ้วมือก็ได้
  • ข้อที่อักเสบเหล่านั้นจะต้องเป็นทั้งข้างซ้ายและข้างขวาเหมือนกันและเป็นพร้อมๆ กัน
  • ตรวจพบมีปุ่มเนื้อ Rheumatoid nodules
  • การตรวจทางห้องปฏิบัติการพบสารภูมิต้านทาน Rheumatoid factor ในเลือด การตรวจพบสารภูมิต้านทาน Rheumatoid factor เพียงอย่างเดียว ไม่ได้จำเพาะกับโรคนี้ เพราะสามารถตรวจพบได้ในคนทั่วไปประมาณ 5% และยิ่งมีอายุมาก โอกาสที่จะตรวจพบอาจมีถึง 20% จึงต้องอาศัยเกณฑ์ข้ออื่นร่วมด้วย
  • การตรวจเอ๊กซเรย์กระดูก พบความผิดปกติของกระดูกรอบข้อ เช่น กระดูกรอบข้อบางตัวลง

 

3.2 โรคเข่าเสื่อม/โรคข้อเสื่อม/กระดูกผุ (Osteoporosis, Osteoarthritis)

 

โรคกระดูกพรุน (osteoporosis) เป็นภาวะที่กระดูกทั่วร่างกายมีมวลกระดูกลดน้อยลง และมีการเสื่อมสลายของเนื้อเยื่อกระดูก จนทำให้กระดูกเปราะบางและแตกหักง่ายกว่าปกติ โดยปกติกระดูกชั้นนอก เป็นส่วนของกระดูกแข็ง ส่วนชั้นในของกระดูกเป็นรูพรุนคล้ายฟองน้ำ แคลเซียมและโปรตีนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกระดูก เซลล์กระดูกมีทั้งเซลล์เสริมสร้างกระดูกใหม่ และเซลล์ทำลายกระดูกเก่า โดยกระบวนการของการสร้างกระดูกใหม่และการทำลายกระดูกเก่าเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นและดำเนินไปพร้อมๆ กันอย่างต่อเนื่อง

ในการเจริญเติบโตของคนเราจะมีการสะสมเพิ่มปริมาณของมวลกระดูกอยู่ตลอดเวลา เห็นได้จากการที่เด็กโตขึ้นสูงใหญ่ขึ้น การสะสมของมวลกระดูกจะเร็วหรือช้าต่างกันในแต่ละช่วงอายุ ในช่วงก่อนเข้าสู่วัยรุ่นจะมีการเจริญและสะสมมวลกระดูกมากและเร็วที่สุด หลังจากนั้นการสะสมของมวลกระดูกจะเริ่มช้าลง

จนเมื่อเข้าสู่ช่วงที่เป็นผู้ใหญ่เต็มที่อายุ 25 – 30 ปี การสะสมของมวลกระดูกจะหยุดลง มวลกระดูกจะคงที่อยู่เช่นนั้นช่วงเวลาหนึ่ง จนถึงช่วงอายุประมาณ 35 – 40 ปี ระดับมวลกระดูกจะเริ่มลดลงอย่างช้าๆ ประมาณร้อยละ 0.5 – 1 ต่อปีทั้งในเพศหญิงและเพศชาย แต่ในเพศหญิงภาวะหมดประจำเดือนจะเป็นตัวเร่งทำให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูกเร็วขึ้นถึงร้อยละ 3 – 5 ต่อปี

 

 

3.3 โรคเกาต์ (Gout)

เนื่องจากโรคเก๊าท์ ถือได้ว่าเป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในเพศชาย ผู้ป่วยจะมีอาการปวดที่ข้ออย่างฉับพลัน รวมถึงยังมีอาการข้อแข็ง และบวม ซึ่งมักจะเป็นที่นิ้วหัวแม่เท้า ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาการของโรคเก๊าท์ก็จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และอาจเป็นอันตรายต่อข้อต่อ เส้นเอ็นและเนื้อเยื่ออื่น ๆ ได้

โรคเก๊าท์เกิดจาก ร่างกายมีกรดยูริคในเลือดสูงกว่าปกติ และมีการสะสมกรดยูริคเป็นระยะเวลาที่ยาวนานหลายปี จึงทำให้กรดยูริคตกตะกอน สะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ถ้าสะสมมากที่ข้อต่อ ก็จะเกิดอาการข้อต่ออักเสบ และปวดแดงร้อนบริเวณข้อต่อ, ถ้ากรดยูริคสะสมอยู่ตามผิวหนังมาก จะส่งผลให้เกิดปุ่มนูนบนขึ้นตามผิวหนัง, ถ้ากรดยูริคสะสมที่ไตมาก ก็จะเกิดเป็นโรคนิ่วในใตและเกิดอาการใตเสื่อม เป็นต้น

สาเหตุของโรคเก๊าท์

โรคเก๊าท์เกิดจากการมีกรดยูริกในเลือดมากเกินไป (hyperuricemia) ซึ่งสาเหตุของภาวะกรดยูริกในเลือดสูงมีคำอธิบายที่ยังไม่ชัดเจน แต่มีความเชื่อว่าปัจจัยทางด้านพันธุกรรมน่าจะมีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าว

เมื่อกรดยูริกในเลือดสูงขึ้น อาจตกผลึกในข้อต่อ ซึ่งจะกระตุ้นกระบวนการในระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดการอักเสบ รวมถึงอาการปวด และบวมของข้อต่อ

แม้ว่าสาเหตุของโรคเก๊าท์ที่แท้จริงยังไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัด แต่ปัจจัยเสี่ยงบางอย่างพบว่าเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของกรดยูริกโดยตรง ได้แก่

  1. การมีน้ำหนักเกินกว่ามาตรฐาน
  2. รับประทานอาหารที่มีพิวรีน (purine) สูง เช่น เนื้อสัตว์ และอาหารทะเล เนื่องจากพิวรีนสามารถเปลี่ยนเป็นกรดยูริกได้ภายในร่างกาย
  3. ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
  4. ยาบางชนิดที่อาจเพิ่มระดับของกรดยูริก เช่น แอสไพริน (aspirin) ไนอาซิน (niacin) หรือการใช้ยา-ขับปัสสาวะ (diuretics)
  5. ความเจ็บป่วยหรือสภาวะทางการแพทย์บางประการ เช่น การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว หรือโรคความดันโลหิตสูง

 

4. กลุ่มโรคระบบทางเดินอาหารส่วนต้น (Upper GI Conditions) ร้อยละ 24 ของผู้สูงอายุ

 

 

โรคระบบทางเดินอาหาร Gastrointestinal tract diseases เป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของอวัยวะในระบบทางเดินอาหารเริ่มตั่งแต่ปากจนถึงทวารหนัก โรคที่เกิดในระบบอวัยวะส่วนนี้มักพบการอักเสบ การติดเชื้อ การแปรปรวนของระบบการทำงาน รวมถึงการเป็นเนื้อมะเร็งร้ายในอวัยวะต่างๆ ที่เกิดจากปัจจัยหลายด้านด้วยกัน โรคที่เกิดในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่

โรคของหลอดอาหาร และคอหอย
– โรคคออักเสบ (Pharyngitis)
– โรคอะคาเลเซีย (Achalasia)
– โรคหลอดอาหารอักเสบ (Esophagitis)
– โรคหลอดเลือดในหลอดอาหารโป่งพอง (Esophageal varices)
– โรคมะเร็งหลอดอาหาร (Esophageal cancer)

โรคของกระเพาะอาหาร
– โรคกระเพาะอาหาร (Peptic ulcer)
– โรคกรดไหลย้อน (Gastro-esophageal Reflux Disease, GERD)
– โรคแผลเพปติก
– โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร (Gastric cancer)

โรคของลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก
– โรคไส้เลื่อน (hernia)
– โรคลำไส้อักเสบ (Diverticulum)
– โรคลำไส้ขาดเลือด (ischemic bowel disease)
– โรคลำไส้เล็กอุดตัน (Intestinal obstruction)
– โรคการดูดซึมอาหารผิดปกติ (Malabsorption syndrome)
– ไส้ติ่งอักเสบ (Acute appendicitis)
– โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง (Ulcerative colitis)
– ฝีทวารหนักหรือคัณฑสูตร (anorectal abscess)
– ริดสีดวงทวารหนัก (Hemorrhoids)
– โรคมะเร็งลำไส้เล็ก (Small Intestine cancer)
– โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal cancer)

โรคความผิดปกติ และการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร
– โรคท้องร่วง/โรคอุจจาระร่วง (Diarrhea)
– โรคท้องผูก (Constipation)
– โรคท้องเดิน

โรคในอวัยวะที่เกี่ยวข้องระบบทางเดินอาหาร
– โรคตับวาย ตับล้มเหลว (Hepatic Failure)
– โรคฝีในตับ (liver abscesses)
– โรคตับอักเสบ (Hepatitis)
– โรคตับแข็ง (Liver cirrhosis)
– โรคถุงน้ำดีอักเสบ (cholecystitis)
– โรคนิ่วในถุงน้ำดี (Gallstones)
– โรคท้องมาน ท้องบวม (Ascites)
– โรคมะเร็งตับ (liver cancer)
– โรคมะเร็งตับอ่อน (Pancreatic cancer)
– โรคมะเร็งท่อน้ำดี (Cholangiocarcinoma)

อวัยวะในระบบทางเดินอาหารประกอบด้วยอวัยวะต่างๆเริ่มตั้งแต่ ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ไส้ติ่ง และทวารหนัก มีการทำงานโดยระบบอัตโนมัติหลายอย่าง เช่น การเคลื่อนไหว การย่อยอาหาร การดูดซึมอาหาร การหดรัด และการขับถ่าย

 

 

5. กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Conditions) ร้อยละ 14 ของผู้สูงอายุ

 

โรคระบบทางเดินหายใจ ( Respiratory tract disease  ) คือ โรคและความผิดปกติของอวัยวะในระบบทางเดินหายใจและปอด โดยอวัยวะของระบบทางเดินหายใจ ประกอบด้วย รูจมูก โพรงจมูก คอหอย หลอดลม ขั้วปอดและปอด ส่วนมากแล้วเกิดจากการติดเชื้อ สาเหตุของโรคเกิดจากอะไร การรักษา และ การป้องกันทำอย่างไร  โรคต่างๆของระบบทางเดินหายใจและปอด

โรคระบบทางเดินหายใจ เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะในระบบทางเดินหายใจ รวมโรคต่างๆ ที่เกิดกับระบบทางเดินหายใจ และปอด ส่วนมากแล้วเกิดจากการติดเชื้อ โรคระบบทางเดินหายใจ เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร ป้องกันอย่างไร โรคต่างๆ โรคและการรักษาโรค ระบบทางเดินหายใจ ปอด

โรคระบบทางเดินหายใจ หมายถึง โรคที่เกิดจากความผิดปรกติของอวัยวะในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งอวัยวะในระบบทางเดินหายใจ คือ รูจมูก โพรงจมูก คอหอย หลอดลม ขั้วปอดและปอด เป็นต้น ระบบทางเดินหายใจจะทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย และขับคาร์บอนไดออกไซต์ ออกจากร่างกาย ซึ่งโรคที่เกิดขึ้นกับระบบทางเดินหายใจส่วนมากพบว่าสาเหตุคือ การติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา โปรตัวซัว และสารพิษ ต่างๆ รวมถึงเนื้องอก หรือ เซลล์มะเร็ง เป็นต้น

และนี่คือกลุ่มของโรคสุ่มเสี่ยง หรือ เรื้อรัง ที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เนื่องความชราอาจทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำลง หรือการฟ่อของกล้ามเนื้อ และอาหารที่ไม่มีประโยชน์สะสมมาเป็นเวลานานๆ เพราะฉนั้นเราควรที่จะพาผู้สูงอายุ ไปตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี และดูแลผู้สูงอายุอย่างใส่ใจ ในเรื่องอาหาร เพื่อชลอความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรัง

 

 

เรียบเรียงโดย: MCCONTENT

ที่มา:

http://new.mahachai2.com/medical-services_respiratory-clinic.php

http://decembertown.com/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%88/

https://ascannotdo.wordpress.com/tag/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%99/